วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

เข้าห้องครัว ไปดูศิลปะ !? กับ ขาบ สตูดิโอ โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com




เข้าห้องครัว ไปดูศิลปะ !? กับ  ขาบ สตูดิโอ
       ART EYE VIEW --หนึ่งในผู้ที่รู้จักนำ “ศิลปะ” มาช่วยแต่งเนื้อแต่งตัวให้อาหาร “จานอร่อย” กลายเป็นอาหาร “จานสวย” ประทับใจผู้รับประทาน
      
       เราคงไม่ลืมที่จะนึกถึง Food Stylist คนที่ชื่อ ขาบ - สุทธิพงษ์ สุริยะ แห่ง ขาบ สตูดิโอ (KARB STUDIO) ที่สีส้มจะลอยเข้ามาอยู่ในความทรงจำเราด้วยทุกครั้ง เมื่อนึกเขาและสตูดิโอของเขา
      
       ขาบบอกถึงเหตุผลที่เลือกใช้สีส้ม มาเป็นสัญลักษณ์ให้กับ “ขาบ สตูดิโอ” องค์กรที่รับสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ดิ้งให้กับธุรกิจอาหารด้วยมาตรฐานสากล อย่างครบวงจร มากว่า 25 ปี ว่า
      
       
“อย่างแรกคือ สีส้มเป็นสีที่มีพลังในเรื่องของการกระตุ้นให้คนอยากทานอาหารได้ดีที่สุด และโดยส่วนตัวผมชอบ ฟักทอง แต่ให้นึกถึงสีของ ฟักทองฮัลโลวีนนะ มันถึงจะเป็นส้ม แบบที่ผมชอบ นอกจากนี้ผมยังเอาฟักทองมาเป็นโลโก้ของบริษัทด้วย เนื่องจากฟักทอง เป็นทั้งผักและผลไม้ สามารถทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง”
เข้าห้องครัว ไปดูศิลปะ !? กับ  ขาบ สตูดิโอ
       ด้วยความเป็นคนทำอาหารที่ชอบศิลปะ ทำให้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เขาสนใจ ไม่ถูกปล่อยผ่าน ทั้งเรื่องของ “ความดูดีและมีมาตรฐาน”
      
       หลายๆโอกาส เขาจึงต้องแปลงกายเพื่อไปทำหน้าที่หลายๆอย่างในเวลาเดียว ไม่ว่าจะเป็น คนทำอาหาร ,นักออกแบบอาหาร ,ช่างถ่ายภาพอาหาร ,นักเขียน,คนทำหนังสือ ฯลฯ
      
       “ก่อนจะมาสนใจอย่างอื่น ผมเป็นคนทำอาหารมาก่อน เป็นคนทำอาหารที่ชอบศิลปะ ก็เลยกลายมาเป็น Food Stylist ดังนั้นผมจึงเป็น Food Stylist ที่เข้าใจเรื่องของการปรุงอาหาร
      
       เมื่อเป็นคนทำอาหารที่ต้อง เข้าใจเรื่องของการทำอาหารให้อร่อย , เป็น Food Stylist ต้องเข้าใจเรื่องการทำให้อาหารดูดีน่ารับประทานแล้ว ต่อมาผมก็เริ่มมาสนใจเรื่องของอาหารผ่านเลนส์ นั่นคือ สนใจถ่ายภาพอาหาร
      
       อาหารในจานที่เรามองผ่านสาย ตาว่าสวยมาก จริงๆแล้วอาจจะไม่สวยเลยก็ได้เมื่อเรามองผ่านเลนส์ ดังนั้นเมื่อเราถ่ายภาพอาหาร เราต้องรู้และเข้าใจว่า ความสวยของอาหารที่มองผ่านเลนส์เป็นอย่างไร”
      
       การได้ชิมอาหารผ่านภาพถ่ายก่อนจะได้ชิมอาหารจากจานจริงเป็นศิลปะอย่างไร ขาบได้อธิบายว่า
      
       “ก่อนที่เราจะได้ชิมอาหารจาก จานจริง อาหารจะถูกชิมผ่านสายตาจากรูปภาพต่างๆ ก่อน มันก็เลยกลายมาเป็นเรื่องของศิลปะ ที่เมนูอาหารจากสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย มันต้องทำให้คนที่เห็นรู้สึกว่า อาหารนั้นมันคือศิลปะ และทำให้เขาอยากจะชิม

      
       เมื่อเราคนถ่ายภาพอาหารอยาก ทำให้คนเขาอยากชิม อยากรับประทาน และรู้สึกตื่นตาตื่นใจ เราก็ต้องดึงเรื่องของศิลปะมาใช้ โดยการดึงสีสันของตัววัตถุดิบในอาหารมาเป็นตัวเดินภาพอันดับแรก
      
       ต่อด้วยเรื่องของรูปทรงและ เส้นสายของวัตถุดิบในอาหาร ที่มีทั้งความเว้า ความโค้ง ก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง และสิ่งที่สาม คือ ภาชนะที่นำมาใส่อาหาร จากนั้นเมื่อนำทุกอย่างมาจัดวาง เราจึงต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้ภาพที่เราถ่ายออกมา มันไม่ดูหนักหรือเบาเกินไป”

เข้าห้องครัว ไปดูศิลปะ !? กับ  ขาบ สตูดิโอ
       ความสนใจของขาบไม่ได้หยุดอยู่แค่การ ถ่ายภาพอาหารให้ออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพื่อให้อาหารเกิดความสวยแบบครบวงจร และเป็นประโยชน์กับผู้คน ภาพอาหารของเขาจึงถูกนำมาวางเคียงข้างเนื้อหา และกลายเป็นหนังสือเล่มสวยที่ให้ความรู้แก่ผู้คนในเรื่องของอาหารการกินหลาย เล่ม
      
       หนังสือเล่มแรกซึ่งร่วมทำกับ สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ และ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ อาหารในราชสำนักของหลวงพระบาง ด้วยความน่าสนใจของเนื้อหา ตลอดจนความใส่ใจในเรื่องของการออกแบบ นำพาชื่อเสียงมาสู่เขาโดยไม่ตั้งตัว
       
      
       “ผมเอาเนื้อหามาจาก เพีย สิงห์ ซึ่งเป็นห้องเครื่องในราชสำนักหลวงพระบาง ทำอาหารถวายเจ้านายองค์สุดท้ายของลาว (พระบาทสมเด็จพระเจ้าเชษฐาขัติยวงศา พระมหาศรีสว่างวัฒนา หรือ ที่คนไทยคุ้นเคยในพระนาม เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา)ก่อน ห้องเครื่องคนนี้เสียชีวิตได้ทำหนังสือเอาไว้เล่มหนึ่ง และหนังสือเล่มนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมอยากเอามาขยายความและต่อยอดใน เรื่องของดีไซน์ เพราะต้นฉบับเดิมจะมีเฉพาะตัวหนังสือกับภาพวาดเท่านั้น
      
       ตัวผมซึ่งเป็น Food Stylist ก็อยากจะแปลงเมนูจากที่เป็นตัวหนังสือหรือภาพวาดอย่างเดียวให้กลายมาเป็น เมนูที่มีภาพถ่ายสวยๆ ต้องบอกว่าเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีเนื้อหาที่ดีมาก และเป็นประวัติศาสตร์ เพราะในเล่มมีเรื่องของการท่องเที่ยวหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก รวมอยู่ด้วย และเนื้อหาอีกอย่างที่โดดเด่นก็คือ ผมได้ไปสัมภาษณ์เรื่องอาหารการกิน จากคนที่เคยทำอาหารและใช้ชีวิตอยู่ในวังมาก่อน”

เข้าห้องครัว ไปดูศิลปะ !? กับ  ขาบ สตูดิโอ
       ปีแรกที่หนังสือเล่มนี้ซึ่งมีการ พิมพ์แยกเล่มเป็น 2 ภาษา วางจำหน่ายที่หลวงพระบาง หลังจากนั้นฝรั่งจากหลายชาติที่ไปเที่ยวหลวงพระบาง และซื้อกลับบ้านไป ได้อีเมลมาบอกเขา ถึงความประทับใจที่มีต่อหนังสือ แนะนำให้ส่งไปประกวดเวทีนั้นเวทีนี้ พร้อมส่งที่อยู่มาให้เสร็จสรรพ
      
       “ตอนทำหนังสือเล่มนี้ ผมไม่ได้มองเรื่องของรางวัล แต่ผมมองเรื่องของการสร้างองค์ความรู้ เรื่องของประวัติศาสตร์ ผมอยากทำหนังสือเชิงสารคดีอาหาร ผมจะไม่ทำหนังสือตำราอาหาร เพราะผมต้องการทิ้งประวัติศาสตร์เอาไว้ให้คนรุ่นหลัง
      
       ปีแรกที่มีอีเมลมา ผมไม่ได้สนใจ พอปีที่สองมีอีเมลเดิมส่งมาอีก ผมคิดว่า เขาคงอยากให้ผมส่งไปประกวดจริงๆ ผมก็เลยส่งไปดู เลยได้รับรางวัลมาสองเด้ง(หัวเราะ) คือ หนังสือรางวัลท่องเที่ยวดีเด่นของโลก และ หนังสืออาหารการกินดีเด่นของโลก จากหนังสือชื่อ   Food and Travel : Laos
      
       ผมจึงรู้สึกว่า ผมมาถูกทางแล้ว หลังจากนั้น หนังสือหลายๆเล่มของผม เมื่อทำเสร็จ ผมจะส่งประกวดทุกครั้งเลย ปัจจุบันนี้ได้มาทั้งหมด 12 รางวัลในระดับโลก และ หนังสือชื่อ Good Idea Kitchen เคยได้รับรางวัลจากเวที Gourmand World CookBook Awards และปัจจุบันผมยังเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียว ที่ได้รับรางวัลนี้”

เข้าห้องครัว ไปดูศิลปะ !? กับ  ขาบ สตูดิโอ
       ประสบการณ์ กว่า 25 ปี ของผู้นำอาหารเดินทางมาบรรจบกับศิลปะ , ย้ำเตือนให้หลายๆคนได้เข้าใจว่า ศิลปะ กับหลายเรื่องในชีวิต ไม่ควรแยกออกจากกัน และยังเป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในโลกของการแข่งขัน
      
       เวิร์คชอป "ฟู้ดสไตลิสต์เชิงพาณิชย์ศิลป์สำหรับตลาดสากล" ในนาม ขาบ สตูดิโอ จึงเกิดขึ้น เพื่อมอบองค์ความรู้ในเรื่องศิลปะที่เกี่ยวกับอาหาร ให้ผู้ร่วมเวิร์คชอปได้นำไปใช้จริง
      
       ก่อนที่เวิร์คชอปครั้งต่อๆไปจะตามมา ขาบ สตูดิโอ ได้เริ่มนับหนึ่ง ด้วยการทำเวิร์คชอปให้กับ ภัตตาคารอาหารจีน “ฮองมิน”
      
       “เป็นร้านอาหารที่มีราคาใกล้ เคียงกับโรงแรม 5 ดาว เลย แต่จะโดดเด่นกว่าตรงที่หน้าตาของอาหารจะสวยกว่า ผมไปทำเวิร์คชอปให้ 3 วัน ก่อนที่จะมีการเปิดร้านใหม่ ณ พรอเมนาด ใกล้ แฟชั่นไอส์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้”
      
       ขาบ บอกว่า คน 2 กลุ่มที่ไม่ควรมองผ่านเวิร์คชอปอันนี้ ที่เขามีความตั้งใจอยากนำเสนอก็คือ
      
       “กลุ่มแรก คือคนที่ทำงานอยู่ในสายอาหาร มาได้หมดเลย ตั้งแต่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ และคนที่ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตัวเอง ด้วยศิลปะ
      
       และกลุ่มที่สอง คือ คนที่เรียนศิลปะ คนที่อยู่ในวงการดีไซเนอร์ คนที่ออกแบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบสิ่งพิมพ์ ซึ่งคนเหล่านี้ เมื่อเรียนจบจำนวนหนึ่งจะต้องไหลไปสู่ Production House หรือ บริษัทอาหาร เวลาคนพวกนี้ออกแบบอาหารเขาจะไม่เข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบอาหาร ดังนั้นคนพวกนี้จึงต้องมาเรียนรู้ เพื่อจะได้รู้ว่า จะมีวิธีดึงธรรมชาติของอาหารออกมาได้อย่างไร
      
       ดังนั้นทั้งผู้ประกอบธุรกิจ อาหารจึงต้องมาเรียนรู้ว่า ความสวยของศิลปะอาหารคืออะไร ที่ผ่านมาเขาอาจจะรู้ แต่ขาด Know-how ถูกไหมฮะ กับอีกคนที่รู้จักศิลปะแต่ไม่รู้ว่าธรรมชาติของอาหารคืออะไร”
      
  เครดิต : http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000033533

       

เรื่องเด่นประจำเดือน : เส้นทางชีวิต ความสุขที่เลือกแล้ว โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com

เส้นทางชีวิต  ความสุขที่เลือกแล้ว
เส้นทางชีวิต  ความสุขที่เลือกแล้ว
ฟู้ดสไตลิสต์  ความสุขของคนจัดแสงแต่งสีให้อาหาร
          สีประจำตัวของเขาคือสีส้ม  ไม่ใช่เพราะเขาเกิดวันพฤหัสฯ  แต่เป็นเพราะเขาชอบสีส้มของฟักทองซึ่งถือเป็นตัวแทนของสินค้าภาคเกษตร   เมืองไทยเป็นเมืองเกษตร  และเขาก็เติบโตมาจากครอบครัวที่ทำธุรกิจการค้าสินค้าพืชไร่ในจังหวัดหนองคาย  ทุกวันนี้เขาจึงมีความสุขกับอาชีพ  ฟู้ดสไตลิสต์  ซึ่งนำชื่อเสียงมาสู่เขาไม่น้อยในนามของ 
ขาบสไตล์
          “ฟักทองเป็นพืชผลที่มีราคาถูก  เอาไปทำอาหารได้ทั้งของคาวและของหวาน  แล้วก็มีสารอาหารที่มีประโยชน์สูง  เป็นเรื่องธรรมดามาก  ถูกและดีก็มีดีไซน์ได้  คนอาจจะคาดไม่ถึง  แล้วมันก็เป็นตัวแทนของสินค้าเกษตร  มันมีสีส้ม  สีส้มก็เป็นสีที่ทรงพลัง”  คุณสุทธิพงษ์  สุริยะ  หรือ คุณขาบ  ฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดังผู้มีผลงานมากมายทั้งในสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นรายการทีวี  วิทยุ  นิตยสาร  ฯลฯ  ทั้งยังมีผลงานที่เป็นเครื่องการันตีคุณภาพที้งในประเทศและต่างประเทศ  เรียกได้ว่าเป็นกูรูทางด้านการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าอาหารมาแล้วมากมาย 
          ในออฟฟิศของ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด  ซึ่งเป็นสตูดิโอด้านการสร้างภาพลักษณ์และแบรนดิ้งให้กับธุรกิจประเภทอาหาร  ก็ถูกประดับประดาด้วยสีส้มอย่างงดงามและลงตัว  ไม่เพียงเป็นความชอบส่วนตัวเท่านั้น  แต่นี่ยังเป็นการสื่อสารอะไรบางอย่าง  “มันเป็นเรื่องของแบรนดิ้ง  การที่ผมมาทำสตูดิโอนี้  ผมจะต้องมองในเรื่องหลักของการสื่อสารการตลาด  ว่าจะทำยังไงที่องค์กรเล็ก ๆ ของเราจะผงาดในท่ามกลางเอเยนซี่ได้  ซึ่งต้องบอกว่าเอเยนซี่เขามีอิทธิพลสูงมาก  แต่ขณะเดียวกัน ตอนนี้มีลูกค้าจากเอเยนซี่ที่ไหลมาหาผม  และลูกค้าบางรายที่ไม่อยากไปหาเอเยนซี่เพราะกระบวนการคิดมันคนละอย่างกัน  กระบวนการคิดของผมคือจะลงไปที่ตัวตนของวัตถุดิบเสมอ  วิเคราะห์  แตกประเด็น  เสร็จแล้วค่อยจัดการเดินไป  มันมีระบบจัดการของมันอยู่”
          คุณขาบบอกว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่อินเทรนด์  เพราะสังคมไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม  ผู้คนให้ความสนใจ  แต่ที่อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักนักเพราะอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม  “โดยแท้จริงแล้ววิชาชีพนี้ในต่างประเทศเขามีมานานแล้ว  แล้วก็เป็นอาชีพเดียวที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรได้อย่างยั่งยืน  เพราะสินค้าเกษตรบ้านเรามันก็ดีอยู่แล้ว  แต่กระบวนการที่ทำให้มันมีมูลค่าเพิ่มเนี่ย  ก็ต้องมีคนนำเสนอภาพลักษณ์  ในการนำเสนอภาพลักษณ์ไม่ใช่พวกเอเยนซี่  เพราะว่าทักษะของเขามันยังไม่ใช่  ที่ใช่ก็คือต้องเป็นคนที่สนใจเรื่องอาหาร  ถึงจะทำให้อาหารเป็นเรื่องดีไซน์ได้” 
          “ ผมอยู่กับวิถีธรรมชาติของสินค้าพืชไร่การเกษตร  ฉะนั้นผมก็จะรู้จักมันดี  กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  ขณะเดียวกันตัวผมเองก็ชอบการทำอาหารด้วย  เป็นคนชอบศิลปะ  ก็เลยเป็นคนที่เข้าใจในเรื่องของอาหาร  ผมไม่มองว่าอาหารสวยอยู่บนจาน  แต่มองความสวยของอาหารคือมาจากจุดเริ่มต้น  อาหารถ้าสวยมาจากจุดเริ่มต้นนี่แปลว่ามันเป็นความสวยแบบเบ็ดเสร็จแล้ว  ไม่ต้องทำอะไรมาก” 
          เขาบอกว่าสิ่งที่เขาทำเป็นเรื่องของจิตวิทยา  บวกกับการวิเคราะห์ทางการตลาด  “บทสรุปของธุรกิจอาหารคือ  นวัตกรรม + ดีไซน์  คุณจะต้องมี  2  คำนี้  และในคำว่าดีไซน์  คนก็จะมีร้อยแปดดีไซน์  เพราะแต่ละคนจะมีดีไซน์ที่ไม่เหมือนกัน  แต่ดีไซน์ของอาหาร  จากประสบการณ์ 15 ปีของผม  มันมีคำตอบเดียวคือ  simply the best  คือเรียบง่ายแต่งดงาม  ถ้าคุณจะไปให้ถึงแก่นของดีไซน์  คุณต้องเอาคำนี้มาจัดการ  ฉะนั้นถ้าคุณยังมีนวัตกรรมดี  แต่คุณยังมีดีไซน์ที่มั่วไปหมดเลย  ก็สอบตก  แก่นของดีไซน์คือ  เรียบง่ายแต่งดงาม  ถ้าคุณจะอยู่ในวงการอาหารแล้วอยากประสบความสำเร็จ  คุณต้องยึดถือคำนี้เลย”
         “ผมมองว่าการที่ผมได้รู้จักตัวตน  มันก็เป็นอะไรที่พิเศษแล้วที่เอาความชอบมาทำเป็นอาชีพได้  เพราะมีหลายคนที่ชอบแบบหนึ่ง  แต่ไปทำงานอีกแบบหนึ่ง  มันเป็นอะไรที่ขัดแย้งกัน  แต่ของผมยิ่งทำก็ยิ่งพัฒนา  มันกลั่น  มันตกผลึก  มันสั่งสมมา 15 ปี แล้วมันเป็นสิ่งที่ทำอย่างเดียวด้วย  มันเลยยิ่งกลั่นๆๆๆ  และยิ่งบริสุทธ์  งานแต่ละชิ้นมันเลยกระแทกอย่างแรง  นี่คือในแง่ส่วนตัวนะ  แต่ในแง่ส่วนรวมที่ผมมองก็คือ  ผมคิดว่าเมืองไทยยังขาดเรื่องของดีไซน์  ทุกวันนี้เมืองไทยสู้ฝรั่งได้เรื่องเดียวคืออาหารรสชาติอร่อยเท่านั้น  แต่เรายังขาดอยู่เรื่องเดียวคือการจัดการเรื่องดีไซน์  ถ้าสินค้าไทยทุกตัวที่เป็นสินค้าเกษตร  โยนดีไซน์ใส่เข้าไป  ผมว่ามันจะเป็นการขุดรากถอนโคนของประเทศไทยเลย”
          เขาจึงอยากเห็นภาครัฐทำอะไรสักอย่างที่จะเป็นการช่วยส่งเสริมสินค้าเกษตรของไทยให้มีดีไซน์  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและแข่งขันในเวทีระดับโลกได้มากยิ่งขึ้น  “คือตอนนี้รัฐบาลไปส่งเสริมเรื่องดีไซน์ในธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างอื่นมากกว่า  เช่น  เฟอร์นิเจอร์  แฟชั่น  เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  แต่จริงๆ แล้วถ้ารัฐบาล  หรือองค์กรที่สามารถให้ความสำคัญกับหน่วยงานการเกษตร  แล้วตั้งศูนย์ดีไซน์เกษตรเซ็นเตอร์   อย่างเนี้ยใช่เลย  มันจะไปตอบโจทย์คุณค่าของสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่ม  ถ้ามีองค์กรนี้เกิดขึ้น  ผมว่ามันใช่  ทุกวันนี้ไม่มีองค์กรนี้  ศูนย์สร้างสรรค์สินค้าเกษตร  ยังไม่มี  มันควรจะมี” 

Karb Studio เปิดแง่มุมความง่ายและงามของอาหาร โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com


Karb Studio เปิดแง่มุมความง่ายและงามของอาหาร

Karb Studio เปิดแง่มุมความง่ายและงามของอาหารในธุรกิจอาหาร นอกเหนือไปจากรสชาติของอาหารนั้นๆ แล้ว ปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ หน้าตาของอาหารและบรรจุภัณฑ์ หรือหากเป็นร้านอาหาร บรรยากาศและการตกแต่งร้านโดยรวม เรื่อยไปจนถึงเมนูหรือภาชนะที่ใช้เสิร์ฟก็จัดว่าเป็นองค์
สุทธิพงษ์ สุริยะ

ประกอบที่สำคัญ และยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ผู้คนรักการแชร์สิ่งต่างๆ ให้คนอื่นได้รับรู้ ยิ่งหน้าตาของอาหารมีความสวยงามหรือสะดุดตามากขึ้นเท่าไหร่  ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้เองอาชีพ "ฟูดสไตลิสต์" (Food Stylist) หรือผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ให้กับอาหารจึงเกิดขึ้นและเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในประเทศไทย หากจะพูดถึงอาชีพนี้ เชื่อได้ว่าชื่อแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนก็คือชื่อของ สุทธิพงษ์ สุริยะหรือขาบ กรรมการผู้จัดการบริษัท ขาบ สไตล์ จำกัด  ผู้ก่อตั้ง "Karb Studio" ผู้ให้บริการด้านสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจอาหารครบวงจรรายแรกของประเทศไทย
    โดยฟูดสไตลิสต์ชั้นนำที่คร่ำหวอดในวงการศิลปะและอาหารมากว่า 16 ปี ได้เล่าย้อนให้ฟังถึงแรงบันดาลใจในการเลือกเดินบนถนนสายนี้ว่า เนื่องจากธุรกิจของครอบครัวนั้นทำธุรกิจซื้อขายวัตถุดิบทางการเกษตรและร้านอาหาร จึงทำให้ตนเองมีความสนใจและคลุกคลีกับอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องวัตถุดิบมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งนั่นเองเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เขากลายเป็นฟูดสไตลิสต์ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ใครในเวลาต่อมา
    "ตั้งแต่เด็ก ผมเชื่อมาตลอดว่า วัตถุดิบทางการเกษตรของไทยมีความงามอยู่ในตัวมันเอง ส่วนเมื่อโตขึ้นมา ส่วนตัวผมก็มีความสนใจในงานศิลปะและงานสร้างสรรค์แขนงต่างๆ ซึ่งก่อนที่เลือกเดินเส้นทางฟูดสไตลิสต์อย่างเต็มตัว ก็ได้มีโอกาสทำงานด้านดีไซน์เกี่ยวกับอาหารให้กับแม็กกาซีนหลายเล่ม และเคยเป็นครีเอทีฟให้กับเอเยนซีโฆษณาด้วย ทำให้เราเข้าใจถึงแนวคิดของพาณิชย์ศิลป์ การประยุกต์ไลฟ์สไตล์ของคนเข้ากับการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยหล่อหลอมให้ผมกลายมาเป็นฟูดสไตลิสต์อย่างทุกวันนี้"

   
 หลังจากทำงานฟรีแลนซ์และเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจอาหารจนมากพอแล้ว สุทธิพงษ์จึงตัดสินใจเปิด "Karb Studio" ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อราว 9 ปีที่แล้ว เพื่อให้บริการสร้างด้านภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจอาหารอย่างครบวงจร ซึ่งใน
    ปัจจุบันมีตั้งแต่ Food Styling เน้นสื่อความงามของวัตถุดิบอาหาร Food Packaging Design ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์อาหารให้มากไปด้วยสไตล์และรสนิยม Food Publication Design ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อาหารทุกชนิด เรื่อยไปจนถึง Shop& Restaurant Development ให้คำแนะนำและปรับโฉมร้านค้าหรือร้านอาหารต่างๆ ให้มีดีไซน์โดดเด่นทันสมัย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.karbstyle.com)
    "ตอนที่ผมตัดสินใจจะเปิด ‘Karb Studio’ ผมไม่รู้เลยว่าธุรกิจนี้จะเกิดหรือดับ เพราะตอนนั้นถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่ผมก็ลองมานั่งคิดวิเคราะห์ดูว่า ประเทศของเราเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวัตถุดิบการเกษตร เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่ทำไมผู้เชี่ยวชาญหรือธุรกิจด้านฟูดสไตลิสต์ถึงแทบไม่มี ผมมองเห็นช่องว่างตรงนี้ ก็เลยคิดที่จะทำบริษัทให้เป็นเรื่องเป็นราว  จนถึงตอนนี้ก็เรียกได้ว่าเราเป็นผู้ให้บริการด้านนี้อย่างครบวงจรรายแรกของประเทศ"
    นอกจากนี้สุทธิพงษ์ยังมีผลงานอื่นอีกมากมายที่ก่อเกิดมาจากรากเหง้าในความรักอาหารและศิลปะ เช่น ผลงานพ็อกเกตบุ๊กเกี่ยวกับอาหารหลายเล่มซึ่งได้รับรางวัลการันตีมากมายจากงานประกวดตำราอาหารระดับโลกอย่าง Gourmand World Cookbook Awards ประเทศสเปน ด้วยประสบการณ์มากมายและผลงานที่หลากหลายในแวดวงธุรกิจอาหาร ทำให้วันนี้ชื่อของสุทธิพงษ์และ "Karb Studio" ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในแวดวงธุรกิจอาหารมากมาย ซึ่งเขาไม่เคยหยุดมองหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  เมื่อถามถึงแผนการในอนาคต  เขาบอกว่า นอกจากงานหลักในการบริหาร "Karb Studio" แล้ว  ยังมุ่งมั่นในการนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่ตนมีเผยแพร่ให้กับสังคมในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะมากได้ ผ่านการเป็นวิทยากรรับเชิญและเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง รวมถึงการทำงานให้กับมูลนิธิและโครงการหลวงหลายโครงการอีกด้วย



สวยทั้งรูป จูบก็อร่อย - จัดอาหารให้เป็นงานศิลป์ กับอาชีพ “ฟู้ด สไตลิสต์” โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com

สวยทั้งรูป จูบก็อร่อย - จัดอาหารให้เป็นงานศิลป์ กับอาชีพ “ฟู้ด สไตลิสต์”



ในโลกสมัยใหม่ “อาหารชั้นดี” ใช่อยู่ที่รสชาติติดปลายลิ้นแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ “หน้าตาที่ดูดี” ก็กำลังกลายเป็นสาระสำคัญอันดับต้นๆ เช่นกัน ถึงตอนนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่อาหารจานเดิมของคุณจะถูกจับแต่งหน้าทาปากเสียใหม่ จนดูละม้ายคล้ายงานศิลปะกินได้ก็ไม่ปาน ซึ่งในเมื่อโลกเรามีสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปะ” แล้ว ก็ย่อมต้องมีบุคคลที่เรียกกันว่า “ศิลปิน” เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน ถูกต้องมั้ยครับ? และผู้ที่บรรจงสร้างสรรค์จัดวางอาหารจานสวยนั้นจะเป็นใครไปเสียไม่ได้ นอกจาก “ฟู้ด สไตลิสต์” (Food Stylist) ศิลปินที่มีโต๊ะอาหารเป็นแกลเลอรี่แสดงงานนั่นเอง
แม้จะฟังดูเหมือนเป็นอาชีพใหม่สำหรับเมืองไทย แต่ถ้ามองกันให้ลึกซึ้งแล้ว คนไทยเป็น “ฟู้ด สไตลิสต์” กันมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณ ดังจะเห็นได้จากบรรดาอาหารคาวหวานที่ประดับด้วยผักผลไม้แกะสลักฝีมือปราณีต ขนมทำจากแป้งประดิบประดอยปั้นเป็นรูปต่างๆ ทั้งยังเติมสีและกลิ่นจากธรรมชาติ โรยหน้าด้วยเครื่องเคราสารพัด จนแทบจะไม่รู้กันเลยทีเดียวว่าในจานนั้นมีอะไรบ้างที่กินได้และอะไรบ้างที่ กินไม่ได้
อย่างไรก็ดี เมื่อกาลเวลาผ่านไป “ฟู้ดพรีเซนเทชั่น” (Food Presentation) แบบไทยๆ ก็คอยแต่จะเลือนหาย เหลือค่าไว้แค่เป็นศิลปะ “โชว์แขก” ตามโรงแรมหรู ประกอบกับความนิยมใน “อาหารฟิวชั่น” ของคนกรุงที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ทำให้ศิลปะการจัดวางอาหารแบบตะวันตกเริ่มเป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งกลายเป็นธุรกิจที่คนไทยทำกันแบบเป็นจริงเป็นจัง



KARB STUDIO คือ หนึ่งในฟู้ดสไตลิสต์ชั้นนำของเมืองไทยที่ทำ “สไตลิ่ง” ให้กับอาหารแบบครบวงจร ด้วยความที่คลุกคลีอยู่กับอาหารและวัตถุดิบในการปรุงอาหารมาตั้งแต่เด็ก บวกกับความหลงใหลในเสน่ห์และเรื่องราวของการทำอาหาร ทำให้ “คุณขาบ” (ศิษย์รักของครูโต ม.ล.จิราธร จิรประวัติ ศิลปินและฟู้ดสไตลิสต์ชั้นนำของเมืองไทย) มีผลงานการทำสไตลิ่งอาหารทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังมากมาย นับตั้งแต่การเป็นพิธีกรรายการอาหาร ที่ปรึกษาบริษัทอาหาร ครูสอนทำอาหาร ดีไซเนอร์วางคอนเซ็ปท์แพ็คเกจจิ้งอาหาร ฟู้ดคอลัมนิสต์ ฯลฯ แถมยังมีคิชเช่นสตูดิโอของตัวเองที่รวมเอาอุปกรณ์การทำครัวและพร็อพสำหรับ ฟู้ดสไตลิ่งไว้ให้เช่าอีกด้วย
หลักในการ ทำงานของคุณขาบอยู่ที่ความเข้าใจในเรื่องวัตถุดิบอย่างล้ำลึก รวมทั้งยังนำเอา commercial art มาปรับใช้กับการตกแต่งหน้าตาอาหารเพื่อให้ดูสวยงาม โดยเน้นที่กระบวนการคิดอย่างมีระบบ สร้างสไตล์และรสนิยมที่เป็นเอกลักษณ์ ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ถึงวันนี้ การปรับเปลี่ยนสไตล์และหน้าตาของอาหารยังคงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง เห็นได้จากเมนูใหม่ๆ ที่แต่ละร้านพยายามรังสรรค์ขึ้นเพื่อเอาใจลูกค้า รวมไปถึงการถือกำเนิดขึ้นของนิตยสารอย่าง Foodstylist ที่ตอกย้ำให้เทรนด์ของการตกแต่งอาหารนี้ยิ่งโดดเด่น
ในต่างประเทศนั้น นอกจาก “ฟู้ด สไตลิสต์” จะมีหน้าที่ออกแบบตกแต่งเมนูเด็ดตามร้านอาหารแล้ว เอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละคนยังสามารถต่อยอดออกไป “นอกร้าน” ได้ด้วย เช่น ไปปรากฏตามสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำสไตลิ่งและจัดหาพร็อพในฉากภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์โฆษณา อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ไปจนกระทั่งถึงการออกแบบแพคเกจจิ้ง การเขียนตำรา และการสอนทำอาหารอีกด้วย
หากเรา ศึกษาประวัติของฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดังหลายๆ คน เราจะพบว่า พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้จบการศึกษาทางด้านการออกแบบ หรือแม้กระทั่งด้านอาหารโดยตรงเลย เส้นทางอาชีพสายนี้มักเกิดขึ้นจากความรักในการทำอาหารและความหลงใหลในการ ตกแต่งอาหารเป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะศึกษาเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงอย่างเข้มข้น



นอกเหนือจากทักษะและฝีมือด้านการตกแต่งแล้ว “การสร้างสรรค์เมนูอาหาร” ก็ถือเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของฟู้ดสไตลิสต์ด้วย ยกตัวอย่างเช่นที่คุณเอกรินทร์ อยู่สุขสมบูรณ์ ฟู้ดสไตลิสต์ชั้นแนวหน้าของไทย (และผู้บริหารร้าน Extra Virgin Bistro and Wine Bar) ได้สรรสร้างเมนูอาหารชื่อแปลกอย่าง “Chiangmai to Phuket” ซึ่งได้รวมเอาของดีแต่ละภาค นับตั้งแต่ไส้อั่ว แหนมปลากราย ส้มตำที่ใช้สาหร่ายแทนปู ไปจนถึงไก่ทอดหาดใหญ่เข้าไว้ด้วยกัน สร้างสีสันสดใสในจานให้เกิด “มู้ด” ของปาร์ตี้แสนสนุก อะไรอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า ผลงานที่กลั่นจากความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ นอกจากจะเพิ่มสุนทรียภาพในช่วงเวลาอาหารแล้ว มันยังช่วย “สร้างคุณค่าใหม่” ให้กับอาหารธรรมดาๆ จานหนึ่งได้มหาศาลด้วย
เคล็ดลับของอาชีพ “ฟู้ดสไตลิสต์”
1. ฟู้ดสไตลิสต์ที่ดีควรจะรักในการทำอาหาร เข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบและวิธีการปรุงที่แตกต่างกัน มีความคิดสร้างสรรค์ พิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด และรักการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
2. ฟู้ดสไตลิสต์มีบทบาทในธุรกิจสร้างสรรค์ในหลายระดับ นับตั้งแต่การวางคอนเซ็ปท์อาหาร, การออกแบบตกแต่งจานอาหาร, การจัดหาพร็อพที่เกี่ยวข้องให้กับร้านอาหารในฉากภาพยนตร์และภาพยนตร์โฆษณา, การนำเสนอเมนูอาหารในสื่อสิ่งพิมพ์, การออกแบบแพ็คเกจจิ้ง, การเขียนคอลัมน์ และอื่นๆ อีกมากมายที่มีเรื่องอาหารเป็นส่วนประกอบ

เครดิต : เรื่อง ชัชรพล เพ็ญโฉม
            http://www.tcdcconnect.com/content/detail.php?ID=810&sphrase_id=1663283 

อาหารสวยและดูดีสไตล์ Karb โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com

ในฐานะนักชิมตัวยงคนหนึ่ง ผมชื่นชอบร้านอาหารที่ไม่เพียงใส่ใจกับการบริการและการออกแบบตกแต่งร้านให้เก๋ไก๋ดูดีเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการคัดสรรคุณภาพวัตถุดิบ การปรุงรสชาติให้กลมกล่อมอร่อยถูกปาก รวมถึงการจัดเรียงอาหารให้มีสีสันเตะตาน่าทาน เมนูจานไหนที่ได้ผ่านการอัพรูปขึ้น IG ของ @somchartlee แสดงว่าของเขาต้องมีดีชวนอวด
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสได้เชิญคุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ นักสร้างแบรนด์ในธุรกิจอาหารมาร่วมสัมภาษณ์ในรายการ “ตลาดนักคิด นักคิดการตลาด” ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งว่า “ความสวยของอาหารที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่ง หากเกิดจากการดึงศักยภาพของวัตถุดิบแต่ละชนิดออกนำเสนอให้ดูน่าสนใจอย่างเป็นธรรมชาติ”
with karb

Appetizers



Fusion of Art & Science

แทบจะทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมี 2 ด้าน ขาว-ดำ, ร้อน-เย็น, หยิน-หยาง, เหตุผล-อารมณ์ ฉะนั้นการผสมผสานของ 2 สิ่งเข้าด้วยกันอย่างลงตัวจึงถือเป็นเคล็ดลับสุดยอดวิชาของการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ในเชิงของอาหารก็เช่นกัน คุณขาบได้พูดไว้ในรายการว่าการสร้างแบรนด์ธุรกิจอาหารนั้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นั่นคือการนำคุณค่าทางโภชนาการของอาหารและสมุนไพรไทยมาผสมผสานกับศิลปะการดีไซน์ออกแบบอาหารให้มีความเป็นมาตรฐานสากล ความสวยของอาหารในมุมมองของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน แต่หัวใจหลักของมันคือการสื่อสารด้วยความสดใหม่และเรียบง่าย (Fresh & Simple)

Food Branding

การจะนำพาแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จนั้นเกี่ยวข้องกับหลายองค์ประกอบ เริ่มต้นจากคุณภาพของสินค้าและบริการ (Quality of Product/Service) ความแตกต่างที่ผู้บริโภครู้สึกได้ (Differentiation) คุณค่าที่ส่งมอบถึงมือผู้บริโภค (Value) การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ความสะดวกที่ลูกค้าได้รับ (Convenience) ไปจนถึงการสื่อสารให้เกิดการรับรู้และซื้อสินค้า (Communication) และอีกหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกัน
ในธุรกิจอาหาร แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะมีความโดดเด่นทางรูปลักษณ์ (Physical Appearance) หรือถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ เพราะความรู้สึกนิยมชมชอบ (Emotional Attachment) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักเริ่มต้นโจทย์การสร้างแบรนด์จากรูปลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อให้โดน แต่องค์ทรงเครื่องให้ดูน่าสนใจ และตัวอย่างที่คุณขาบได้พูดไว้ในรายการคือ แบรนด์ KiinTim และ Lor Yaowaraj เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามฟังได้ในคลิปวีดีโอนี้เลยครับ
Lor Yaowaraj, Gourmet Shop on Yaowaraj Road
Lor Yaowaraj, Gourmet Shop on Yaowaraj Road
Food Packaging Design for Traditional Thai Icecream
Food Packaging Design for Traditional Thai Icecream
สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการออกแบบและคำปรึกษาด้านสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตรกรรม ติดต่อได้ที่บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด หรือที่ www.facebook.com/Suthipong.Suriya
เครดิต : http://www.somchartlee.com/?p=947

ผลไม้ของพ่อในงาน "โครงการหลวง 44 " โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com


ผลไม้ของพ่อในงาน "โครงการหลวง 44 " 


มูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับเซ็นทรัลเวิลด์ร่วมกันจัดงาน โครงการหลวง 44 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 5 ธันวาคม 2556 จัดขึ้นในระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 8 – วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2556 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พิเศษในงานปีนี้พบกับ “ผลไม้ของพ่อ” ไม้ผลคัดสรรโดยโครงการหลวง ซึ่งเป็นไม้ผลที่มีรสชาติอร่อย หอม หวาน และมีคุณค่าทางอาหารโดยมีการออกผล ในช่วงเวลาต่างๆ ในรอบปีไม่ว่าจะเป็น อะโวคาโด ลูกพลับ กีวีฟรุต ฟิค (มะเดื่อฝรั่ง), องุ่น, เสาวรสหวาน, ผลหม่อน (มัลเบอร์รี่),
เคพกูสเบอรี่,เสาวรส เป็นต้น ชื่นชมกับ ดอกกุหลาบพันธุ์ใหม่ “Prince of Love” ที่ผสมพันธุ์และพัฒนาโดยโครงการหลวง ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่มีสีผสม (Blend colour) ระหว่างสีเหลือง-ชมพู ซึ่งหาชมได้ที่งาน
นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์อันเลื่องชื่อ จากโครงการหลวงให้ได้ ชม เลือกซื้อ กันอีกมากมาย และพบกับกิจกรรมการเสวนาสาธิตการประกอบอาหาร รอบเวลาสาธิต 13.00 น. และ 16.00 น.
พบกันที่งาน โครงการหลวง 44 วันที่ 8-18 สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

แขกรับเชิญและเชฟบนเวทีการสาธิตการประกอบอาหาร “งานโครงการหลวง 44″ ร่วมชมและชิมวันละ 2 รอบ คือรอบเวลา 13.00 น. และ 16.00 น. 




KARB STUDIO โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com

KARB STUDIO





สุทธิพงษ์ สุริยะ ( ขาบ ) ฟู้ดสไตลิสต์ผู้คร่ำหวอดในวงการศิลปะและอาหารมากว่า 15 ปี ปัจจุบันดำรง ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้บริการด้านการสร้างภาพลักษณ์ และแบรนดิ้งให้กับธุรกิจประเภทอาหาร ผลงานการออกแบบของคุณขาบเป็นที่ยอมรับเรื่องของมาตรฐานสากล

ทั้งสไตล์การคิดงาน และมององค์ประกอบอย่างรอบด้านด้วยความเข้าใจและเข้าถึงแก่น เพราะเคยผ่านงานหลากหลายบทบาท ทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อาทิ เคยทำงานบริษัทโฆษณา  ทำงานสิ่งพิมพ์แมกกาซีน เป็นนักเขียน นักการตลาด  นักสร้างแบรนด์อาหารกรรมการตัดสินประกวดอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร นักปรุงอาหาร และส่วนตัวชื่นชอบศิลปะแนวไลฟ์สไตล์ ฯลฯ โดยเปิดให้บริการงานที่ปรึกษาด้านธุรกิจอาหาร อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจรเกี่ยวธุรกิจสื่อโฆษณาและการประชาสัมพันธ์



ผลงาน
Food Styling
โดดเด่นด้วยวิธีการนำเสนอภาพถ่ายเมนูอาหาร ด้วยปรัชญาความเรียบง่ายคือความงดงามที่แท้จริง เน้นความสวยงามของวัตถุดิบอาหารให้โดดเด่นคงคุณค่าและดึงดูดสายตาได้อย่าง ไร  ลูกค้าที่ดูแลมีทั้งร้านอาหาร โรงแรม บริษัทอุตสาหกรรมอาหาร และอื่นๆที่เกี่ยวข้องมากมาย
ผลงานการทำ Food Stylist เพื่อถ่ายภาพเมนูรายการอาหารให้กับร้านอาหารจีนฮองมิน  ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนจากประเทศไทย เพื่อนำไปจัดงานแสดงนิทรรศการภาพถ่ายรูปเล่มเมนูอาหารในงาน DRUPA งานนิทรรศการแสดงผลงานสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลและเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก ประเทศเยอรมนี



Food Packaging Design
ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์อาหารให้มากไปด้วยสไตล์และรสนิยม อาทิ น้ำผลไม้บรรจุกล่องพร้อมดื่มตราชบา ซึ่งแพ็คเกจที่ทางขาบ สตูดิโอออกแบบให้ล่าสุด ได้ถูกนำออกไปให้บริการเสิร์ฟแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบิน ของ สายการบินไทย สายการบินแห่งชาติ, แยมผลไม้ตราชบา เน้นส่งออกตลาดต่างประเทศ,  กาแฟยี่ห้อ VPP,    Inter Taste Food  ( รับจ้างผลิตสินค้าอาหารให้กับแบรนด์ต่างๆทั่วโลก )  โลโก้ร้านเบเกอรี่ H&C  อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง และอื่นๆอีกมากมาย
Studio for Rent
ห้องครัวได้ถูกออกแบบอย่างมีสไตล์เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากมาร์ธ่า สจ๊วต มีผู้มาใช้บริการห้องครัว อาทิ รายการ Living in Shape ช่อง 3, รายการครัวอินดี้ ช่อง 5 รวมทั้งดารา พิธีกรและผู้มีชื่อเสียงมากมาย ฯลฯ
Food Publication Design
ในเวทีระดับโลก คุณขาบ ถือเป็นคนไทยคนแรกและเป็นเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยเป็นเจ้าของผลงานเขียนหนังสือประเภทธุรกิจอาหารและตำราอาหาร ได้คว้ารางวัลจากเวทีระดับโลก Gourmand World Cookbook Awards ประเทศสเปน มาแล้วถึง 4 ปีซ้อนติดต่อกัน กับ 12 รางวัลดีเด่นระดับโลก
ในปี 2550 ได้รับ 2 รางวัลคือ ตำราอาหาร Food and Travel : Laos ได้รับรางวัลดีเด่น 1 ใน 26 เล่มของโลกประเภท Best Foreign Cookery Book และรางวัลดีเด่น 1 ใน 17 เล่มของโลกประเภท Best Culinary Travel Guide
ในปี 2551   ได้รับ 3 รางวัล ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ คู่มืองานครัว Good Ideas : Kitchen ได้รับรางวัลเกียรติยศชนะเลิศของโลก ประเภท Special Awards of the Jury – Best in the world
รวมทั้งหนังสือประเภทธุรกิจอาหาร Prantalay Frozen Seafood ได้รับรางวัลดีเด่นควบ 2 รางวัลพร้อมกันคือ ประเภท Best Fish and Seafood Book และประเภท Best Corporate Cookbook
ในปี 2552 ได้รับ 5 รางวัล คือ หนังสือประเภทธุรกิจอาหาร Rich in Nutrition Book by P.B. Fishery ได้รับรางวัลดีเด่นควบ 3 รางวัลพร้อมกันคือ ประเภท  Best Cookbook Photography ประเภท Best Fish and Seafood Book และประเภท Best Corporate Book
หนังสือประเภทธุรกิจอาหาร Sugar Inspiration Book by Mitr Phol ได้รับรางวัลดีเด่นควบ 2 รางวัลพร้อมกันคือ ประเภท  Best Desserts Book  และ ประเภท Best Television Celebrity Cookbook
ในปี 2553  ได้รับ 2 รางวัล คือ หนังสือประเภทธุรกิจอาหาร Dim Sum Diary by โชคดีติ่มซำ ได้รับรางวัลดีเด่นควบ 2 รางวัลพร้อมกัน คือประเภท  Best Cookbook Photography  และ  Best Corporate Cookbook



Food Photography
ด้วยมุมมองและอารมณ์ของภาพถ่ายที่สะท้อนออกมาดูเรียบง่าย โก้ และคลาสสิกได้ปรากฏผลงานในกลุ่มธุรกิจอาหารต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ภาพถ่ายอาหารได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์  นำไปตกแต่งบู้ธในงานแสดงนิทรรศการอาหาร THAIFEX  จัดที่ประเทศไทย และงาน ANUGA   จัดที่ประเทศเยอรมัน  นอกจากนี้ภาพถ่ายเมนูอาหารที่ทำให้ร้านอาหารจีนฮองมิน ได้ถูกคัดเลือกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการเทคโนโลยีเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ของ โลก งานDrupa จัดที่ประเทศเยอรมัน
ผลงานการถ่ายภาพอาหารได้รับรางวัล Best Cookbook Photography จาก Gourmand World Cookbook Awards ประเทศสเปน 2ปีซ้อนติดต่อกัน www.cookbookfair.com
ผลงานภาพถ่ายอาหารของ สุทธิพงษ์ สุริยะ ได้ถูกคัดเลือกเป็น 1 ใน 8 ภาพ แนววิถีชีวิตของศิลปินไทยที่อยู่ในเครือข่ายประเภทมีค่านิยมจิตสาธารณะหรือ Value Network เพื่อนำไปจัดแสดงในโครงการผลงานศิลปะให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ สึนามิ เมื่อปี 2554 เป็นความร่วมมือของเครือข่ายนักศึกษาพระนครเหนือ กับเมืองอิวากิ จังหวัดฟูกุชิมา ประเทศญี่ปุ่น วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่ประสบภัยได้เห็นภาพแล้วมีกำลังใจ ที่เข้มแข็ง เกิดความสุขและรอยยิ้มตามมา ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2555



Styling  Cooking Class & Workshop
สอนและสาธิตการทำอาหารอย่างมีสไตล์ ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และมูลนิธิมากมาย อาทิ
- งานมูลนิธิโครงการหลวงจัดที่กรุงเทพเป็นประจำทุกปี
- งานมูลนิธิโครงการหลวง เลอ ทัวน์ เดอ อ่างขาง  Le Tour D’ Angkhang  เชียงใหม่
- โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชดำริ
- โครงการส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- กรมส่งเสริมการส่งออก  กระทรวงพาณิชย์
- โอบองแปง,  บุญถาวร,  รถยนต์ VOLVO ฯลฯ
Recipes Development
สอนและพัฒนาสูตรอาหาร เบเกอรี่ เพื่อสร้างเป็นอาชีพให้กับโครงการ อาทิ
- ร้านกำลังใจ โครงการในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
- ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก โครงการในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ  พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
Food Business Development
ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลโครงการ ปรับเปลี่ยนโฉมร้านเก่าแก่รูปแบบดั้งเดิมให้มีดีไซน์โดดเด่น ทันสมัย มีความเป็นสากลและอยู่ในกระแสแห่งความนิยม ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารเก่าแก่ อย่างเช่น ร้าน Little Home สาขา    ทองหล่อ ซึ่งทางทีมงานขาบ สตูดิโอร่วมกับทีมสถาปนิก เป็นผู้วางแนวคอนเซ็ปท์การออกแบบทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้าน ล.เยาวราชสโตร์ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเยาวราช ก็เป็นอีกหนึ่งร้านที่ทางขาบ สตูดิโอ มีส่วนร่วมในการวางคอนเซ็ปท์ออกแบบให้ด้วยเช่นกัน
Booth Display & Gallery Concept
งานแสดงสินค้าอาหารหรืองานแฟร์อาหารต่างๆ ถ้าจะให้รูปแบบของบู้ธได้รับความสนใจ และสร้างความประทับใจให้กับคู่เจรจาการค้า ผู้เข้าร่วมเยี่ยมชมงาน หรือสื่อต่างๆที่มาเยี่ยมชมภายในบู้ธ เน้นการออกแบบและตกแต่งลักษณะในเชิงไลฟ์สไตล์เป็นหลัก  โดยจะมีการผสมผสานกัน ระหว่างผลิตภัณฑ์สินค้ากับศิลปะที่เน้นงานตกแต่งและดิสเพลย์แนวแกลลอรี่ เสมือนห้องแสดงงานศิลปะ  เช่น งาน THAIFEX  ซึ่งลูกค้าที่เคยออกแบบให้ ได้แก่ บู้ธผลิตภัณฑ์ยี่ห้อไทยเทพรส บู้ธน้ำผลไม้ยี่ห้อชบา บู้ธอินเตอร์เทสต์ฟู้ด ฯลฯ และงานแสดงสินค้าอาหาร ANUGA ประเทศเยอรมัน ซึ่งลูกค้าที่เคยออกแบบให้ ได้แก่ บู้ธของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
1. ธุรกิจรับจัดเลี้ยง Catering ในนาม Fresh&Health  โดยหุ้นส่วนทีมงานของคุณนก- ชลิดา เถาว์ชาลี ร่วมกับขาบ สตูดิโอ ให้บริการรับจัดเลี้ยงเป็นชุด Snack Box เน้นอาหารสุขภาพที่มากไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และหน้าตาสวยงาม  พร้อมให้บริการท่าน
2. วิดีโอพรีเซ็นต์ Business Cooking Show โดยหุ้นส่วนทีมงามของบริษัท นาฏะกัมปานี จำกัด ซึ่งเป็นทีมผลิตรายการ Living in Shape ช่อง 3 ร่วมกับขาบ สตูดิโอ โดยมีวัตถุประสงค์ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าธุรกิจอาหาร โดยนำวัตถุดิบต่างๆ มานำเสนอผ่านการทำอาหารอย่างมีสไตล์สวยงาม โดยพิธีกร 2 หนุ่ม คือ คุณขาบ – สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์, กูรูผู้สร้างภาพลักษณ์ธุรกิจอาหาร พร้อมด้วย คุณเส – จารุทัศ  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  นักพัฒนาสูตรและค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป มูลนิธิโครงการหลวง เชียงใหม่  ซึ่งรูปแบบเน้นผลิตวิดีโอให้กับผู้ประกอบการอาหารเพื่อนำไปเผยแพร่ตาม สาธารณะ เช่น งานเทศกาลอาหารต่างๆ หรือวีดีโอเผยแพร่ภาพลักษณ์ไลฟ์สไตล์สินค้าอาหารขององค์กร หรือวิดีโอที่ถ่ายทำเสร็จแล้วท่านสามารถนำไปลง Youtube ได้เช่นเดียวกัน
บทบาทหน้าที่
ทีวี
- เป็นพิธีกรคู่กับคุณนก – ชลิดา เถาว์ชาลี รายการอาหาร Living in Shape ทางช่อง 3
- เป็นพิธีกรช่วงอาหารจานสุข รายการ Body & Mind ทางช่อง ASTV – NEWS 1
- เป็นพิธีกรคู่กับ เคนโด้ & แคนดี้ รายการอร่อยท้าชิม ทางช่อง 5
วิทยุ
- เป็นผู้ดำเนินรายการเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกิน “ ครัวของขาบ ” ทาง FM 97
สื่อสิ่งพิมพ์ 
- คอลัมนิสต์ประจำ ให้กับหนังสือผู้ส่งออก, ชุมทางอาชีพ, แฟรนไชส์โฟกัส&โอกาสธุรกิจ, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ,  Voice Bangkok Website, SME THAILAND ฯลฯ
- คอลัมนิสต์รับเชิญให้กับแมกกาซีนแนวอาหาร ตกแต่ง ไลฟ์สไตล์ และธุรกิจอาชีพ
- กูรูรับเชิญรายการทีวี ให้กับรายการทีวีช่องต่างๆด้านธุรกิจอาหาร และสไตล์ที่เกี่ยวข้อง
- เจ้าของสูตรอาหารรับเชิญ เป็นเจ้าของสูตรอาหารจำนวน  2 ใน 84 สูตรอาหารข้าวกล้องเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในนามของมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ตำราอาหาร 
เป็นเจ้าของผลงานตำราอาหารและหนังสือธุรกิจอาหารออกมาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 12 เล่ม
พรีเซ็นเตอร์ 
งานโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์เตาอบไมโครเวฟของซัมซุง



อาจารย์พิเศษ
รับเชิญบรรยายให้ความรู้กับองค์กร ภาครัฐบาลและภาคเอกชน อาทิ
- โรงเรียนสอนการประกอบอาหาร (หลักสูตรวิชาครัวไทย) เลอ กอร์ดอน เบลอ ดุสิต
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์  หลักสูตรนานาชาติ)     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะสหเวชศาสตร์ (หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (สาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
หลักสูตรระดับ ป.ตรี,ป. โท )  มหาวิทยาลัยศิลปากร  จ.นครปฐม
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร (สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะมนุษยศาสตร์ (สาขาบ้านและชุมชน)  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร (สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- หลักสูตร MBA ( สาขาการจัดการครัวและภัตตาคาร )  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
- โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก  ภายใต้การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาลกับสถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยากรรับเชิญ รับเชิญบรรยายให้ความรู้กับองค์กรต่างๆ อาทิ
- กรมส่งเสริมการส่งออก งาน THAIFEX-World of Food ASIA 2012 ในหัวข้อเรื่อง “The Hottest Ideas for Food Presentation”
- สมาคมเชฟและพ่อครัวแห่งเมืองพัทยาและภาคตะวันออก
- งานมหกรรมครบเครื่องเรื่องอาหารและอุปกรณ์ งาน  Makro HoReCa
- หน่วยงานฝึกอบรม วิทยาลัยดุสิตธานี
- โครงการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
- หน่วยงานฝึกอบรม สมาคมโรงแรมไทย
- งานเวทีธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และสปาสัญจร หัวหิน-ชะอำ
- งานอาหารนานาชาติเชียงใหม่ Chiangmai International Food Festival 2011
- อื่นๆอีกมากมาย
โครงการฝึกอบรม
- หลักสูตร “ ผู้ประกอบการอาหารไทยอย่างมืออาชีพ ” สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
- หลักสูตร “ นักลงทุนรุ่นเยาว์ ” บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ( IFCT 8 )
- หลักสูตร “ ธนาคารคู่บ้านคู่เมือง ” ธนาคารกรุงเทพ  ( SIP 19 )
กิจกรรมและงานด้านสังคม
- คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 42”
-คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 43”
- ช่างภาพกิตติมศักดิ์ ให้กับทางสถานฑูตลาวแห่งประเทศไทย เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานงานพิธีบายศรี  ในงานเทศกาลสงกรานต์ เป็นประจำทุกปี
- คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดอาหาร งาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ)     เกษตรแฟร์ ปี 2555
- คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดบรรจุภัณฑ์อาหาร กรมส่งเสริมการส่งออก THAIFEX 2010
- คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดอาหาร Food Design สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA
- คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดแข่งขันการปรุงอาหาร  งาน Makro HoReCa
- คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดการใช้อุปกรณ์สินค้าประเภทเครื่องครัว  ZWILLING J.A. HENCKELS
- คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดแข่งขันทำอาหาร Mouth Watering Arts โรงแรม The Library เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
- คณะกรรมการตัดสิน การประกวดแข่งขันของบรรดาเชฟ รายการทำอาหารชื่อดัง  Iron Chef
- และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
รางวัลผู้ประกอบการยอดเยี่ยม
บริษัท ขาบ สไตล์ จำกัด ได้รับคัดเลือกและมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ได้รับรางวัลความโดดเด่นด้าน พาณิชย์ศิลป์ จากการประกวดรางวัล SME THAILAND INNO AWARDS 2012 จาก ใน 10 สาขา รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่
1. รางวัลโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์
2. รางวัลโดดเด่นด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
3. รางวัลโดดเด่นด้านดีไซน์ผลิตภัณฑ์
4. รางวัลโดดเด่นด้านRecycle Product
5. รางวัลโดดเด่นด้านการตลาด
6. รางวัลโดดเด่นด้านการสร้างสรรค์แบรนด์
7. รางวัลโดดเด่นด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
8. รางวัลโดดเด่นด้านพาณิชย์ศิลป์ ได้แก่ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด
9. รางวัลโดดเด่นด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
10.รางวัลโดดเด่นด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม

KARB STUDIO
FOOD BRANDING & ADVERTISING SERVICES
องค์กรที่รับออกแบบสร้างภาพลักษณ์และแบรนดิ้งให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารด้วยมาตรฐานสากล  ประกอบด้วย
1.  ฟู้ดสไตลิสต์
2.  ถ่ายและกำกับภาพอาหาร
3.  รับออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อาหารทุกชนิด
4.  คุกกิ้งโชว์และเวิร์กช็อป
5.  งานออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร
6.  สตูดิโออาหารให้เช่า
7.  คอร์สฝึกอบรมฟู้ดสไตลิสต์
8.  พัฒนาสูตรอาหารโดยเชฟจากสถาบันอาหารชั้นนำ
9.  รับสอนทำอาหารโดยเชฟจากสถาบันอาหารชั้นนำ
10. งานที่ปรึกษาด้านสไตล์ให้ธุรกิจอาหารทุกรูปแบบ
11. ออกแบบหน้าตาอาหารเชิงพาณิชย์ศิลป์สำหรับธุรกิจอาหาร
12. คิดวางธีมคอนเซ็ปออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อาหารด้วยมาตรฐานสากล




เครดิต : http://www.artbangkok.com/?p=6733

แซลมอนอบ โรสแมรี่และเลมอน โดย อ.ขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com

แซลมอนอบ โรสแมรี่และเลมอน โดย อ.ขาบ สุทธิพงษ์


แซลมอนอบ โรสแมรี่และเลมอน โดย อ.ขาบ สุทธิพงษ์

แซลมอนอบ โรสแมรี่และเลมอน โดย อ.ขาบ สุทธิพงษ์

ส่วนผสม วิธีทำ


แซลมอนอบ โรสแมรี่และเลมอน โดย อ.ขาบ สุทธิพงษ์

KARB STUDIO ผสานธุรกิจเข้ากับศิลปะ by “สุทธิพงษ์ สุริยะ” www.karbstyle.com

KARB STUDIO ผสานธุรกิจเข้ากับศิลปะ




การสร้างบุคลิกให้กับตราสินค้า (Brand Characteristic) ไม่ใช่เรื่องง่าย การจะสร้างแบรนด์ให้สำเร็จได้ ผู้ประกอบการต้องรู้จักและเข้าใจคุณค่าของสินค้าทั้งในเชิงการตลาดและความงามด้านศิลปะเพื่อเข้าถึงใจของผู้บริโภค จากแนวคิดนี้ทำให้ฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง “ขาบ” สุทธิพงษ์ สุริยะ กรรมการผู้จัดการบริษัท ขาบสไตล์ จำกัด เกิดไอเดียที่จะนำเอาประสบการณ์ในการทำธุรกิจของเขาไปให้คำแนะนำในฐานะที่ปรึกษาการสร้างแบรนด์แก่อุตสาหกรรมอาหาร

จึงเป็นที่มาของธุรกิจรับออกแบบสร้างภาพลักษณ์และแบรนดิ้ง ภายใต้ชื่อ KARB STUDIO เพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการอาหารที่ต้องการสร้างแบรนด์ ซึ่งสุทธิพงษ์เชื่อมั่นว่าการดีไซน์ที่ดี จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สินค้าได้รับการยอมรับจากตลาดและผู้บริโภคในระยะเวลาอันสั้น โดยนำศิลปะมาเติมช่องว่างทางธุรกิจนั้นให้ประสบความสำเร็จ

“การที่สินค้าจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีการดีไซน์มาเป็นสิ่งเติมเต็ม เวลาคุยธุรกิจกับลูกค้า ผมต้องหารากหรือแก่นของธุรกิจนั้นๆ เสียก่อน เมื่อเจอรากแล้วจึงค่อยนำสไตล์มาปรับใส่ แล้วคิดหาวิธีว่าจะทำให้รากของสินค้านั้นมีคุณค่าได้อย่างไร

ในกระบวนการรีแบรนดิ้งเราจะใช้ศิลปะมาดีไซน์ ซึ่งคนจำนวนมากมักใส่ดีไซน์ แต่ทิ้งรากเหง้าของวัฒนธรรมขององค์กรหรือตัวสินค้า หากเรายึดหัวใจสำคัญอย่างแก่นของธุรกิจเอาไว้แล้วมาผสมกับศิลปะผ่านงานดีไซน์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือ พาณิชย์ศิลป์ เมื่อดีไซน์ได้ ธุรกิจเกิด ผู้ประกอบการก็พอใจ มันเป็นการเชื่อมโยงกัน”

ในการสร้างแบรนด์สุทธิพงษ์จะมองว่าตัวเขาเป็นเจ้าของสินค้า เพราะเมื่อคิดว่าเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว จะต้องคำนึงถึงเรื่องการตลาดและโฆษณาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งมุมมองศิลปะของดีไซเนอร์

“เวลาผมนำเสนอชิ้นงานทุกชิ้น ผมให้ความสำคัญกับตัวสินค้าก่อน คือจะต้องตกผลึกเข้าถึงแก่น พอได้แล้วที่เหลือไม่ต้องใส่รายละเอียดอะไรมาก เป็นความงามที่ไม่ต้องปรุงแต่ง ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ไม่ค่อยมีใครทำ ทุกคนผลิตสินค้าให้เกิดขึ้นในท้องตลาดก่อน

หลังจากนั้นค่อยนำกระบวนการส่งเสริมการขายผลักสินค้าให้เกิด ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่ผิด ผู้ประกอบการอยากทำสินค้าชิ้นหนึ่งขึ้นมาขาย โดยที่ยังไม่เข้าใจว่าสินค้าคืออะไร พอออกสู่ตลาดแล้ว คุณค่าหรือดีไซน์ยังไม่โดนใจผู้บริโภค ก็ต้องไปจ้างเอเยนซี่มาทำการตลาดโดยการโฆษณาเพื่อให้สินค้ากลับมาอยู่ในกระแส ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ประกอบการจะต้องใช้เงินทำการตลาดครั้งแล้วครั้งเล่า ทำไมถึงไม่เอาต้นทุนตรงจุดนี้มาคิดกระบวนการเรื่องของการออกแบบสินค้าให้เกิดความงามตั้งแต่ต้น เพราะหากตัวโปรดักต์ตกผลึกแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรอีกเลย”

สุทธิพงษ์แนะนำว่า การจะสร้างแบรนด์ให้สำเร็จนั้น ผู้ประกอบการต้องมีจุดยืนเรื่องความแข็งแกร่งของแบรนด์ ต้องคิดให้สินค้าคือแบรนดิ้ง และทุกอย่างคือการทำแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า การตกแต่งสถานที่ ถุงช้อปปิ้ง ไปจนถึงโลโก้สินค้า ทุกอย่างล้วนเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแบรนด์ จึงต้องมีทั้งความสวยงามในแบบ “เรียบแต่ไม่ง่าย” และมีความหมายในเวลาเดียวกัน เมื่อแปลงโจทย์นำโปรดักต์มาเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารแบรนด์ที่ครบวงจรแล้ว สินค้านั้นก็ไม่จำเป็นต้องทำการตลาดใดๆ อีก ที่สำคัญคือ จะต้องไม่ลืมใส่ใจในเรื่องราก แนวคิด วิถีดั้งเดิมที่เป็นหัวใจของธุรกิจด้วย

และนี่...คือการสร้างแบรนด์ในแบบ “ขาบสไตล์” ที่ใช้ศิลปะมาเติมเต็มธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์

เปลือยสไตล์บริหารเงิน..ฟู้ดสไตลิสต์ โดย สุุุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com

เปลือยสไตล์บริหารเงิน..ฟู้ดสไตลิสต์


 
 
คนที่จัดสรรเวลาเป็น รู้จักวางแผนชีวิตและอนาคตทางการเงินอย่างรอบคอบ ชีวิตก็จะพบแต่ความสุข และมีเวลาพอจะไปเสพงานศิลปะ ถือว่าสุดยอดของชีวิต

ชื่อของ "สุทธิพงษ์ สุริยะ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขาบสไตล์ อาจไม่คุ้นหูคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าเรียกเขาว่า "ขาบ" หลายคนคงร้องอ๋อ เพราะขาบเป็นฟู้ดสไตลิสต์ชั้นนำ ผู้คร่ำหวอดในวงการศิลปะและอาหารมากว่า 10 ปี ทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ซึ่งเขาได้รับการยอมรับทั้งในไทยและต่างประเทศ บริษัทที่เขาทำในปัจจุบันเป็นองค์กรที่สร้างสไตล์ รสนิยมและความทันสมัยให้กับวงการธุรกิจอาหารด้วยมาตรฐาน สากลอย่างครบวงจรแบบมืออาชีพ

"สิ่งสำคัญในการเป็น ฟู้ดสไตลิสต์ที่ดี ต้องมีคาแรคเตอร์ที่โดดเด่นและชัดเจนในตัวเอง ที่สำคัญต้องทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนาน สามารถนำเสนอผลงานให้ออกมาเป็น พาณิชย์ศิลป์ได้ และควรหาโอกาสร่วมงานกับบุคคลและสินค้าระดับอินเตอร์เพื่อพัฒนาศักยภาพและ เรียนรู้ประสบการณ์อันล้ำค่า"

นอกจากนี้ เขายังเป็นพิธีกรร่วมคู่กับ "ชลิดา เถาว์ชาลี" ผลิตรายการอาหาร Living in shape ทางช่อง 3 และเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุในช่วง “ครัวของขาบ” ทางเอฟเอ็ม 97 ที่พูดคุยเรื่องราวของอาหารการกินและครัวของคนร่วมสมัย แถมยังเป็นคอลัมนิสต์และนักเขียนประจำ ให้ความรู้เชิงศิลปะการทำสไตล์ใส่อาหาร ลงตีพิมพ์ตามนิตยสารเล่มต่างๆ

แม้เรื่องจัดการเงินทอง เขาจะไม่เก่งและเชี่ยวชาญเท่าเรื่องการเป็นฟู้ดสไตล์ลิสต์ แต่แบบแผนการจัดการเงินของขาบก็ไม่ได้ขี้เหร่ ขาบบอกว่าเมื่อมีรายได้เข้ามา เขาจะจัดสรรเงินด้วยการเปิดบัญชีเพื่อตัวเองไว้ 2 บัญชี คือ เปิดบัญชีเงินฝากประจำ เพื่อบังคับตัวเองให้ออมเงินและเป็นสร้างวินัยไปในตัว โดยจะต้องเก็บออมเงินจำนวนหนึ่งไว้ทุกเดือน ส่วนบัญชีออมทรัพย์ มีไว้เพื่อเบิกถอนมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องบริหารจัดการของแต่ละเดือน

แต่ขาบบอกว่า ไม่ว่าจะใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหนหรือซื้ออะไร ต้องยึดหลัก "ใช้จ่ายไม่ให้ตัวเลขติดลบ" หรือหากติดลบก็ต้องทำงานมากขึ้น เพื่อหารายได้มาชดเชยโดยเร็วที่สุด

แบบแผนในการจัดการเงินทองของเขาในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ ขาบบอกว่า เน้นประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองและบริษัท เช่น ว่าจ้างฟรีแลนซ์ทำงานแทนพนักงานประจำ กรณีมีงานก็เรียกมาเป็นครั้งคราว หรือสำหรับคนทั่วไปมีข้อแนะนำว่า หากเป็นบริษัทขนาดเล็ก ก็อาจจะใช้บ้านเป็นโฮมออฟฟิศ ทำให้ไม่เกิดค่าใช้จ่าย แถมยังได้ทานอาหารกับพนักงาน ทำให้เกิดความคุ้นเคยกันมากขึ้น ซึ่งที่ขาบสตูดิโอก็ทำธุรกิจในรูปแบบนี้

"ผมว่าคนเราควรจะใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ ไม่ประมาทหรือคิดการใหญ่เกินตัว ค่อยๆ ก้าวเดินแต่ปลอดภัยทุกขณะต้องมีสติ คอยแก้ปัญหา และที่สำคัญต้องทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรมเหมือน เช่นกับการทำ CSR ที่คืนกำไรให้กับสังคม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและควรนำมาปรับใช้กับทุกๆ องค์กร"

สำหรับในปัจจุบันที่การใช้เงินกับผู้คนส่วนใหญ่มักใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินตัวกันเยอะ และบางคนนิยมซื้อของแบรนด์เนม มากเกินกำลังของตัวเอง จนกลายเป็นหนี้เป็นสินรุงรัง ขาบแนะว่าทุกคนต้องรู้จักประมาณตนและยึดถือคติตนเป็นที่พึ่งของตนเสมอ ทุกๆ ช่วงชีวิตของมนุษย์ย่อมมีขึ้นมีลงตามจังหวะ หากใครวางแผนได้ดี ชีวิตก็จะประสบแต่ความสุขที่แท้จริงและที่สำคัญที่สุดต้องรู้จักพอและไม่โลภ

ในแง่มุมของการออมและการลงทุนนั้น ขาบขยายความเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน นอกจากฝากเงินกับธนาคารแล้ว เขายังออมเงินในรูปแบบอื่นอีก เช่นที่ทำอยู่ตอนนี้คือ ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เพราะหากมีสุขภาพที่แข็งแรงก็ย่อมมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตประจำวันและขับ เคลื่อนธุรกิจไปได้

"อีกเรื่องที่ทำอยู่ขณะนี้คือ มีคนบอกว่า ขณะที่เรากำลังหาเงิน เช่นกันบ้านที่เราอยู่อาศัยก็ควรจะสร้างเม็ดเงินด้วย จากประสบการณ์ของผมที่ทำอยู่คือ จะซื้อบ้านมาออกแบบเองและตกแต่งให้สวยงามเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและสามารถ สร้างเป็นธุรกิจได้ ซึ่งผมจะมองบ้านในทำเลที่ดี เมื่ออยู่สัก 2-3 ปี หรือเบื่อแล้วก็ขายทิ้ง เอากำไร ไปซื้อบ้านหลังใหม่ต่อไป และที่สำคัญบ้านแต่ละหลังก็จะมีคอนเซปต์และสไตล์ที่ต่างกัน

เช่นเดียวกับที่ขาบสตูดิโอโฮมออฟฟิศของผมจะเน้นการออกแบบและตกแต่งสร้างห้อง ครัวให้กลายเป็นห้องรับแขกแทน ซึ่งได้ไอเดียมาจากเจ้าแม่วงการอาหารของอเมริกาอย่างมาร์ธ่า สจ๊วต เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีความชื่นชอบคล้ายกัน โดยผมก็จะอยู่อาศัยและทำธุรกิจไปเรื่อยๆ ใครสนใจบ้านก็แวะดู หากได้ราคาที่พอใจก็ขาย"

เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ใส่ใจกับเรื่องเงินๆ ทองๆ และวางแผนการเงิน ขาบบอกว่าคนที่ดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีแบบแผนก็เหมือนกับชีวิตที่ไม่มีเข็มทิศและไม่รู้จักคุณค่าของคำ ว่า เวลา และก็มักจะมองไม่เห็นโอกาสที่ดีของอนาคต
"คนที่จัดสรรเวลาเป็นและรู้จักวางแผนชีวิตและอนาคตทางการเงินอย่างรอบคอบ ชีวิตก็จะพบแต่ความสุขและมีเวลาพอจะไปเสพงานศิลปะ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของชีวิต"

ขาบยังแชร์ประสบการณ์ความผิดพลาดทางการเงินของเขา ว่าก็มีบ้างเหมือนกัน เช่น เมื่อก่อนนึกอยากจะได้อะไร พอเห็นปุ๊บก็จะซื้อเลยตามอารมณ์ ปรากฏว่าที่บ้านของเขาจึงมีของรกเต็มไปหมด ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นไม่สะสมอะไรแล้ว นอกจากสะสมความดีและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ขณะนี้ก็กำลังทำห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านเกิด จังหวัดหนองคาย เพื่อให้คนได้เข้ามาอ่านหนังสือหาความรู้ เป็นองค์กรเอกชนเล็กๆ ที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร คาดว่าจะเสร็จปลายปีนี้

นั่นเป็นแบบแผนการจัดการเงินทองของฟู้ดสไตลิสต์แถวหน้าของเมืองไทยที่ชื่อ "ขาบ"

เซเลบนักปรุงชวนช็อปพืชผักโครงการหลวง โดย สุทธิพงษ์ สุริยะ www.karbstyle.com


เซเลบนักปรุงชวนช็อปพืชผักโครงการหลวง

เซเลบนักปรุงชวนช็อปพืชผักโครงการหลวง : ไลฟ์สไตล์


 กลับมาอีกครั้งให้ชาวกรุงได้สนุกสนานกับเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ในงาน"โครงการหลวง 44" ที่มูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับเซ็นทรัลเวิลด์ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 5 ธันวาคม 2556 จัดขึ้นในระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 8 - วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2556 เป็นเวลา 11 วัน ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  โดยในวันแถลงข่าวได้คนดังที่ชื่นชอบการปรุงอาหารมาแนะนำเคล็ดลับการเลือกผัก ผลไม้เพื่อนำไปปรุงเมนูเด็ด
 
          ฟู้ด สไตลิสต์ ชื่อดังเจ้าของขาบสตูดิโอ "ขาบ" สุทธิพงษ์ สุริยะ กล่าวว่า สำหรับผลผลิตโครงการหลวงที่ขอแนะนำให้ลองทำรับประทานกันคือ สลัดมันเทศอบกับผักโครงการหลวง ในจานนี้ประกอบด้วย มันเทศอบ, บล็อคโคลี่, แรดิช, แตงกวาญี่ปุ่น, เรดโครอล, ร็อคเก็ต, เบบี้คอส และ ถั่วอะซูกิ โดยเมนูนี้จะทานคู่กับเดรสซิ่งได้ 2 แบบ คือ น้ำสลัดสับปะรด วิธีทำคือ นำซอสสับปะรดปรุงสำเร็จใส่พริกไทยดำ, เลมอน, น้ำมันมะกอกม, เกลือม, ชีส และปั่นเข้าด้วยกัน ชิมให้รสชาติอร่อยลงตัวเป็นอันใช้ได้ ส่วนสไตล์ฟิวชั่นคือน้ำสลัดน้ำพริกเผา ทำได้โดย น้ำพริกเผาแม่ประนอมผสมกับน้ำมันมะกอก ใส่เลมอนปรับรสชาติ โรยชีสเพิ่มความมัน และมายองเนสเพิ่มความเหลวและหวานของเดรสซิ่ง จากนั้นนำไปปั่นให้เข้ากันจะได้รสชาตินุ่มนวลลื่นคอ ไม่เผ็ดแต่จะมีความหวานมันจากมายองเนส จานนี้จะอุดมไปด้วยวิตามินและคาร์โบไฮเดรตชนิดดีที่มีกากใยเยอะ สำหรับมันเทศนี้สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายจาน เพียงแค่นึ่งหรือต้มให้สุกโรยน้ำตาลก็อร่อย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต้มกับน้ำกะทิแบบไทยๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามควรจะรับประทานคู่กับผักหลากหลายชนิดเพื่อคุณประโยชน์สูงสุดด้วย
 
          ทางด้าน "เหมียง" วิมลภัทร์ ตุงคนาค บอกว่า สินค้าแนะนำของงานโครงการหลวง 44 เป็นของโปรด คืออะโวคาโด ซึ่งในงานโครงการหลวงทุกๆ ปีก็จะมีอะโวคาโดและไอศครีมอะโวคาโดมาจำหน่าย ซึ่งเป็นสูตรของคุณแม่ (ม.ร.ว.ดัจฉราพิมล ตุงคนาค) นอกจากจะไม่มีจำหน่ายในร้านกัลปพฤกษ์แล้วยังเป็นเมนูที่ทำออกมาจำหน่ายเพียงปีละครั้งเท่านั้นที่งานโครงการหลวง ความอร่อยอยู่ที่รสชาติหอมหวานของไอศครีมที่ได้จากน้ำตาลปึกและกะทิ ที่นำมาทานคู่กับอะโวคาโดที่ผ่านำเม็ดออกเพื่อทำเป็นถ้วยแล้วตักไอศครีมใส่อร่อยลงตัวมากๆ
 
          " อยากแนะนำวิธีการทานอะโวคาโดให้อร่อยแบบง่ายๆ คือแค่ผ่ากลางอะโวคาโด (ไม่ต้องหั่น) ราดด้วยนมข้นหวานตักทานคู่กันอร่อยอย่าบอกใคร ส่วนลูกพลับที่สามารถปลูกได้ดีบนดอย ที่อ่างขางก็มีปลูกกันเยอะ แต่รสชาติก็จะไม่เหมือนที่ปลูกในญี่ปุ่นเพราะดินและภูมิอากาศจะไม่เท่าเขา ของโครงการหลวงจะเป็นลูกพลับที่หวานกรอบ แนะนำให้ทิ้งไว้สัก 2 วันให้ผลงอมก่อนแล้วค่อยทาน กินคู่กับของหวานหรือไอศครีมก็เข้ากันดี" หนึ่งในเจ้าของร้านกัลปพฤกษ์ แนะนำปิดท้ายงาน